ดนัย ทายตะคุ
ดนัย ทายตะคุ

ดนัย ทายตะคุ

ดร. ดนัย ทายตะคุ (เกิด 3 มีนาคม ?) เป็นภูมิสถาปนิก นักนิเวศวิทยา นักวิจัยชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเป็นผู้บุกเบิกและผู้เชี่ยวชาญแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์นิเวศวิทยา (Landscape Ecology) เข้ากับงานภูมิสถาปัตยกรรม คนแรก ๆ ของประเทศไทย ดนัย จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2520 แล้ว จึงเลือกศึกษาต่อยังภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยสำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกของภาควิชา หลังจากจบการศึกษา เขาได้เริ่มทำงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 5 ปี เขาจึงได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาภูมิสถาปัตยกรรมที่ บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (GSD) โดยมีศาสตราจารย์ คาร์ล สไตนิตซ์ (Carl Steinitz) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสตูดิโอ จากนั้นจึงศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาการวางแผนสิ่งแวดล้อมที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ในปี พ.ศ. 2542 เขากลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรปริญญาโทในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเคยเป็นนักวิจัยเชี่ยวชาญพิเศษและอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สมัยเป็นนักศึกษาปริญญาเอก อีกด้วย[2]

ดนัย ทายตะคุ

ศิษย์เก่า
เกิด  ไทย
ผลงานสำคัญ
  • ภูมิทัศน์ลานหน้าอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์และอาคารบรมราชกุมารี
  • งานวางผังและออกแบบการฟื้นฟูพื้นที่อุทยานแห่งชาติในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 6 จังหวัดภาคใต้
  • งานวางผังและออกแบบปรับปรุงพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้วเพื่อการพักผ่อน จังหวัดระนอง
  • งานวางผังและออกแบบโครงการปรับปรุงพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดปราจีนบุรี
  • งานวางผังและออกแบบการฟื้นฟูที่ดินเหมืองแร่เป็นสวนสาธารณะ จังหวัดภูเก็ต[1]
  • โครงการสำรวจวางแผน ฟื้นฟูระบบภูมินิเวศ และการพัฒนาภูมิทัศน์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่
สัญชาติ ไทย